@ Anji @

@ Anji @
is me

20.10.11

โรครองช้ำ เจ็บส้นเท้า/ฝ่าเท้า

โรครองช้ำ เจ็บส้นเท้า/ฝ่าเท้า


การเจ็บส้นเท้าหรือผ่าเท้านั้นอาจจะมีได้จากหลาย สาเหตุ สิ่งหนึ่งก็คือการเจ็บส้นเท้า/ผ่าเท้าที่เกิดจากเส็นเอ็นใต้ผ่าเท้าอักเสบ หรือฉีกขาด

สาเหตุของการเจ็บส้นเท้า/ฝ่าเท้า
เป็นการอักเสบของเส้นเอ็น (Plantar fascia) ที่เชื่อมต่อระหว่างส้นเท้ามาที่ส่วนโค้งถึงฝ่าเท้า





ผู้ ป่วยจะมีอาการปวดส้นเท้าตรงด้านล่างของเท้า โดยที่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ช่วงวัยกลางคนทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เนื่องจากเส้นเอ็นจะมีความยืดหยุ่นน้อยลง และแผ่นไขมันที่ช่วยรองรับส้นเท้าบางลงนั้นเอง

ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ทำให้เป็นโรคนี้คือ
• ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน และผู้ที่เป็นโรคอ้วน
• ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
• พวกนักวิ่ง หรือผู้ที่ต้องใช้เท้ามากๆ
• ผู้ที่เป็นโรคเท้าแบน หรือว่าผู้ที่มีส่วนโค้งของเท้ามาก
• หรือการใส่รองเท้าที่ไม่พอดีกับเท้า

อาการของการเจ็บส้นเท้า/ฝ่าเท้า
ผู้ ป่วยจะมีอาการปวดส้นเท้า หรือส่วนโค้งของเท้า และจะมีลักษณะเจ็บคล้ายๆกับมีของแหลมมาทิ่ม กล้ามเนื้อน่องจะมีอาการเกร็ง อาการจะเป็นมากในตอนเช้าหลังจากที่ตื่นนอน และจะเริ่มดีขึ้นเมื่อมีการบริหารฝ่าเท้า หรือบางครั้งอาการปวดจะมีขึ้นเมื่อยืนนานๆ ในกรณีที่เป็นมาก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตลอดทั้งวัน

การวินิจฉัยโรค
ผู้ป่วยจะ ถูกให้ยืนและเดินเพื่อที่จะตรวจสอบลักษณะของเท้า พร้อมกับที่ผู้ป่วยจะถูกซักประวัติทางสุขภาพต่างๆ, กิจกรรมการออกกำลังกาย, ประวัติการเจ็บป่วย, ช่วงเวลาของการปวดเท้าเช้าหรือเย็นหรือตลอดเวลา

การป้องกันและการรักษา
โรค นี้ไม่ถึงกับเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ควรได้รับการรักษาเนื่องจากกระทบการเทือนต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ ป่วย การรักษาสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ แต่ทั้งนี้ไม่มีวิธีไหนที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาโรคนี้ ผู้ป่วยอาจจะต้องหายๆวิธีรวมกันดังนี้

• การพัก
หยุดกิจกรรมที่ ต้องทำการใช้เท้านานๆ สามารถที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการปวดนี้ได้ รวมไปถึงการวิเคราะห์ถึงสภาพกิจกรรมหรือร่างกายที่ผ่านมาว่า มีส่วนทำให้เป็นโรคนี้ได้หรือไม่เช่นน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น หรือการฝึกวิ่งที่หักโหมมากเกินไป

• ใช้ Ice Packs



เป็น การใช้ความเย็นช่วยในการรักษาการอักเสบของเส้นเอ็น โดยนำ Ice packs เข้าไปประคบฝ่าเท้าหลังการทำกิจกรรมการยืดกล้ามเนื้อ เป็นเวลา 10-15 นาที

• ทำการยืดกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายส่วนเท้า

การออกกำลังกายจะช่วยบรรเทาอาการรองช้ำได้ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 อย่างก็คือ

1. การยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งจะเป็นการยืด plantar fascia ligament และเส้นเอ็นร้อยหวาย (Achilles tendon)
2. การทำให้กล้ามเนื้อส่วนเท้าและข้อเท้าแข็งแรงขึ้น

ข้อ แนะนำ: การออกกำล้งการบางอย่างทำให้อาการรองช้ำนี้เป็นมากขึ้น เช่นการวิ่ง เนื่องจากว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่มีแรงไปกระทำกับบริเวณเท้าอย่างต่อเนื่อง นานๆ ทำให้ plantar fascia ligament ยังคงอักเสบอยู่นั้นเอง

No comments:

Post a Comment

Powered By Blogger