อาการเจ็บเอ็นร้อยหวาย
เอ็นร้อยหวายนั้นภาษาทางการแพทย์เรียกว่า “Achilles tendon” เป็นเส้นเอ็นประเภทหนึ่งที่เชื่อมต่อระหว่างส้นเท้ากับกล้ามเนื้อน่องส่วน ล่าง (lower calf muscle) กล้ามเนื้อที่ขานี้เป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและทรงพลังที่สุดของร่างกาย ซึ่งทำให้เอ็นร้อยหวายนี้มีขนาดใหญ่และแข็งแรงที่สุดในบรรดาเส้นเอ็นทั้งหมด
การ หดตัวของกล้ามเนื้อน่องจะไปดึงเอ็นร้อยหวาย ซึ่งจะไปกดฝ่าเท้าลงล่าง ขบวนการทำเช่นนี้ก่อให้เกิดกิจกรรมของเราก็คือ การยืนด้วยปลายเท้า, การเดิน, การวิ่ง, การกระโดด หรืออื่นๆที่ใช้ฝ่าเท้าควบคุม
น้ำหนัก ของคนเรานี้มีผลต่อแรงที่เข้าไปกระทำต่อเอ็นร้อยหวาย ในบางครั้งแรงต่างๆที่เข้ากระทำต่อเอ็นร้อยหวายนี้มีมากถึง 3-12 เท่าของน้ำหนักตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมหรือว่าสถาวะแวดล้อมด้วยเช่น การวิ่ง Sprint จะมีแรงที่กระทำต่อเอ็นร้อยหวายมากกว่าการเดินปรกติ
โดยที่อาการเจ็บนี้จะเกิดขึ้นจากแรงต่างๆที่กระทำเข้ามาที่เอ็นร้อยหวาย อายุที่เพิ่มมากขึ้นและการเพิ่มความหนักของกิจกรรมที่ทำก็มีส่วนทำให้เกิด การบาดเจ็บได้ ในทางการแพทย์นั้นการเจ็บของเอ็นร้อยหวายนั้นจะมีอยู่หลายประการด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่าจะไปเกิดตรงบริเวณไหนของเส้นเอ็นและลักษณะของการอักเสบ
สาเหตุของอาการเจ็บ
การเจ็บเอ็นร้อยหวานนี้จะเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน และอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุรวมๆกัน
• การใช้งานมากเกินไป
การเพิ่มกิจกรรมที่ต้องใช้เท้ามากเกินไปหรือหนักเกินไปในเวลาอันสั้น ไม่ได้มีการฝึกซ้อมหรือ
เตรียมพร้อมให้ดีก่อนมีโอกาสเจ็บเอ็นร้อยหวายได้เช่น การวิ่งหรือเดินที่ยาวเกินไป เร็วเกินไป หรือการ
วิ่งขึ้นเขาหรือทางที่ชัน
• ความผิดปรกติของเท้า
ลักษณะ ทางกายภาพของเท้านั้น ก็มีส่วนทำให้เจ็บเอ็นร้อยหวายได้ เช่น การที่ขายาวสั้นไม่เท่ากัน หรือเท้าที่เอียง (over/under pronation) หรือการที่มีกล้ามเนื้อน่อง สั้น ตึง เกินไป หรือไม่แข็งแรง
• ใช้รองเท้าไม่ถูกต้อง
รองเท้า เองก็มีส่วนทำให้เกิดอาการเจ็บเอ็นร้อยหวายได้เช่นเดียวกัน เช่นการใช้รองเท้าที่ผิดประเภทไม่เหมาะสมกับกีฬาที่เล่น หรือการใส่รองเท้าส้นสูง
• ผลแทรกซ้อนเนื่องจากการใช้ยา
• อุบัติเหตุ
อุบัติเหตุต่างๆนั้นมีส่วนทำให้เกิดการบาดเจ็บได้เช่นกัน
อาการของการเจ็บเอ็นร้อยหวาย
ผู้ ที่เจ็บเอ็นร้อยหวายนั้นจะรู้สึกปวดบริเวณเส้นเอ็น และเจ็บบริเวณส้นเท้า บางครั้งก็รู้สึกเจ็บเมื่อพยายามงอเท้า ในบางกรณีที่เส้นเอ็นฉีกขาดนั้น ผู้ป่วยอาจจะไม่สามารถที่จะงอเท้าขึ้นได้เลย
การป้องกันและการรักษา
วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันการบาดเจ็บนั้นคือต้องให้กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณนั้นได้ถูกฝึกให้สามารถรับแรงต่างๆที่จะเกิดขึ้น
• การยืดกล้ามเนื้อน่องและเส้นเอ็นร้อยหวาย
ในการป้องกันการบาดเจ็บเอ็นร้อยหวายนั้น จะต้องทำการยืดกล้ามเนื้อตรงส่วนบริเวณกล้ามเนื้อน่อง หรือ
บริเวณเอ็นร้อยหวายโดยตรง
• หลีกเลี่ยงกิจกรรม High impact ต่างๆ
หลีกเลี่ยงกิจกรรมเช่น การวิ่งขึ้นเขา การกระโดด โดยมิได้เตรียมพร้อมร่างกายตรงส่วนนั้นให้พร้อ
มเสียก่อน
เมื่อมีการบาดเจ็บเกิดขึ้นแล้ว นอกจากการทำการยืดกล้ามเนื้อ หรือพักกิจกรรมส่วนนั้นแล้วยังสามารถลดความเจ็บปวดได้จาก
• Ice packs
ใช้ประคบตรงส่วนที่ปวด และเปลี่ยนกิจกรรมไปทำอย่างอื่น ที่มีผลกระทบต่อเอ็นร้อยหวายน้อยกว่า
เช่นการว่ายน้ำ ขี่จักรยาน
• การเลือกใช้รองเท้าและถุงเท้าให้เหมาะสมกับกิจกรรมเหล่านั้น
• การใส่เฝือก
การใส่เฝือกจะถูกใช้เมื่อเส้นเอ็นเกิดการฉีกขาด เฝือกจะถูกใช้ไม่ให้ขาไม่ต้องเคลื่อนไหว เพื่อที่จะให้การรักษาตัวเองเร็วขึ้น
• การผ่าตัด
จะถูกเลือกใช้เมื่อเส้นเอ็นมีการฉีกขาดเช่นเดียวกับการใส่เฝือก แต่การผ่าตัดจะใช้เวลาในการรักษาตัว
เร็วกว่าการใส่เฝือกถึงกระนั้นการผ่าตัดก็ควรจะถูกใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
No comments:
Post a Comment