@ Anji @

@ Anji @
is me

20.5.12

โรคหัวใจ

“โรคหัวใจ” เป็นคำที่กว้าง และฟังดูน่ากลัว แบ่งได้หลายชนิด ดังนี้

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือเป็นตั้งแต่เกิด อาจวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกคลอด หรืออาจไม่มีอาการจนกว่าจะอายุมาก ความผิดปกตินี้อาจเกิดขึ้นกับทุกส่วนของหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจ หรือ ตัวห้องหัวใจมีสภาพไม่สมบูรณ์ มักไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เชื่อว่าการติดเชื้อไวรัสและการได้รับสารเคมี ยาบางชนิดระหว่างตั้งครรภ์อ่อนๆ ความผิดปกติเหล่านี้ส่วนมากสามารถผ่าตัดแก้ไขได้

http://img504.imageshack.us/img504/5082/407227ad268073416809165.jpghttp://img97.imageshack.us/img97/318/heart13068112536813178.jpg

โรคลิ้นหัวใจ อาจ เป็นแต่กำเนิดหรือมาเป็นภายหลังก็ได้ มักเกิดจากการติดเชื้อคออักเสบ และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจึงเกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ เกิดลิ้นหัวใจตีบ รั่ว หรือเกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจเอง


โรคกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ หรือกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ โรค ที่พบบ่อย คือ กล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน เป็นต้น การแก้ไข เช่น ขยายหลอดเลือดหัวใจ ผ่าตัดบายพาส

โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด ลักษณะของโรคคือหลอดเลือดหัวใจที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจมีความผิด ปกติทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดการทำงานผิดปกติ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ การสะสม ของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด

โรคเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่เกิดการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อวัณโรค ส่วนใหญ่รักษาได้

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กลุ่มนี้มีหลายชนิดทั้งอันตรายและไม่อันตราย สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติไป

อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก หอบ เหนื่อยง่าย ใจสั่น ขาบวม เป็นลม วูบ

http://img97.imageshack.us/img97/3416/chestpain46885230.jpghttp://img504.imageshack.us/img504/8971/0113269385826940758.jpg







อาการต่อไปนี้เข้าได้กับอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด

1. เจ็บแน่นๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก อาจเป็นด้านซ้ายหรือทั้งสองด้าน (มักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว)บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้าย หรือ ทั้งสองข้าง หรือ จุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
2. อาการตามข้อ 1 เกิดขึ้นขณะออกกำลัง เช่น เดินเร็วๆ รีบ หรือ ขึ้นบันได วิ่ง
3. ในบางรายที่อาการรุนแรง อาการแน่นหน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง หรือ นอน หรือ หลังอาหาร
4. กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมาก อาจมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น เหงื่อออกมาก เป็นลม


อาการต่อไปนี้ไม่เหมือนอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด

1.เจ็บแหลมๆคล้ายเข็มแทง เจ็บแปล๊บๆ เจ็บจุดเดียว กดเจ็บบริเวณหน้าอก
2.อาการเจ็บเกิดขึ้นในขณะพัก มีอาการนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
3.อาการมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า หรือ ขยับตัว หรือ หายใจเข้าลึกๆ
4.อาการเจ็บร้าวขึ้นศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า

อาการหอบ เหนื่อ ยง่าย จากโรคหัวใจ จะมีอาการเหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นเวลาออกแรง แต่ในรายที่เป็นรุนแรง จะเหนื่อยในขณะพัก บางรายจะเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ (นอนแล้วจะเหนื่อย ไอ) ต้องนอนศีรษะสูงหรือ นั่งหลับ

อาการเหนื่อยแบบหมดแรง มือเท้าเย็นชา พูดก็เหนื่อย (โดยอัตราการหายใจปกติ) เหล่านี้มักจะไม่ใช่อาการเหนื่อยจากโรคหัวใจ

อาการใจสั่น คือ การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือ เต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆหยุดๆ อาการดังกล่าวอาจพบ ได้ในคนปกติ โรคหัวใจ และโรคอื่นๆที่มีผลต่อหัวใจ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด

อาการขาบวมจากโรคหัวใจ เกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถ ไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น

การเป็นลม วูบ คำว่า "วูบ" นี้ในความหมายของแพทย์แล้ว หมายถึง การหมดสติ หรือ เกือบหมดสติ ชั่วขณะ โดยอาจรู้สึกหน้ามืด จะเป็นลม ตาลาย มองไม่เห็นภาพชัดเจน โดยอาการเป็นอยู่ชั่วขณะ ไม่รวมถึงอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลงเครง วูบวาบตามตัว หายใจไม่ออก อาการดังกล่าวอาจเกิดจาก ความผิดปกติของสมอง เช่น ลมชัก (แม้จะไม่ชักให้เห็น) เลือดออกในสมอง ความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง หรือหยุดเต้นชั่วขณะ


No comments:

Post a Comment

Powered By Blogger